ค่าจ้างค้างจ้ายกับดอกเบี้ยผิดนัดที่ลูกจ้างมีสิทธิคิดเอากับนายจ้าง

ค่าจ้างค้างจ้ายกับดอกเบี้ยผิดนัดที่ลูกจ้างมีสิทธิคิดเอากับนายจ้าง
มาตรา 9 ในกรณีที่นายจ้าง...ไม่จ่ายค่าจ้าง... ให้นายจ้างเสียดอกเบี้ยให้แก่ลูกจ้างในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละสิบห้าต่อปี ค่านายหน้าในการยึดรถเป็นเงินที่นายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้างคันละ 10,000 บาท ซึ่งไม่รวมค่าจ้างรายเดือน ๆ ละ 9,500 บาท เป็นการจ่ายให้ลูกจ้างเป็นค่าตอบแทนที่ลูกจ้างทำงานตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาปกติของวันทำงาน ถือเป็นค่าจ้าง นายจ้างต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่ลูกจ้างในเงินค่าจ้างค้างจ่ายดังกล่าวในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละสิบห้าต่อปี ตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7891/2553

ค่านายหน้าในการยึดรถเป็นเงินที่นายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง โดยคำนวณจากจำนวนรถที่ลูกจ้างยึดได้ในอัตราแน่นอนคันละ 10,000 บาท นอกเหนือจากค่าจ้างรายเดือนอัตราเดือนละ 9,500 บาท ที่กำหนดจ่ายให้ทุกวันที่ 25 ของเดือน จึงเป็นการจ่ายให้เป็นค่าตอบแทนในการทำงานคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาปกติของวันทำงาน ถือเป็นค่าจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 ซึ่งนายจ้างต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่ลูกจ้างในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละสิบห้าต่อปี ตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง
________________________________

โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 11,460 บาท สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าในส่วนของค่านายหน้าย้อนหลัง 10,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ค่าชดเชย 57,300 บาท และค่านายหน้าย้อนหลัง 140,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม 708,208 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ เงินสมทบของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพส่วนของจำเลยอีก 49,078 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันเลิกจ้างเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง
ระหว่างพิจารณาโจทก์สละประเด็นในส่วนที่ฟ้องเรียกเงินสมทบและผลประโยชน์เงินสมทบของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจากจำเลย จำเลยสละคำให้การที่ต่อสู้ไว้ว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุม และในส่วนที่กล่าวอ้างว่าโจทก์ลาออกเอง

ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายเงินค่านายหน้าในการยึดรถให้แก่โจทก์ 100,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 30 มกราคม 2544 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ

โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่าที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากเงินค่านายหน้าในการยึดรถจำนวน 100,000 บาท และให้เสียดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 30 มกราคม 2544 เป็นต้นไปชอบหรือไม่ เห็นว่า ค่านายหน้าในการยึดรถเป็นเงินที่จำเลยตกลงจ่ายให้แก่โจทก์ โดยคำนวณจากจำนวนรถที่โจทก์ยึดได้ในอัตราแน่นอนคันละ 10,000 บาท นอกเหนือจากค่าจ้างรายเดือนอัตราเดือนละ 9,500 บาท ที่กำหนดจ่ายให้ทุกวันที่ 25 ของเดือน จึงเป็นการจ่ายให้เป็นค่าตอบแทนในการทำงานคำนวณตามผลงานที่โจทก์ทำได้ในเวลาปกติของวันทำงาน ถือเป็นค่าจ้างอีกส่วนหนึ่งนอกเหนือจากค่าจ้างที่ต้องจ่ายตามระยะเวลาการทำงานปกติตามความหมายของคำว่า “ค่าจ้าง” ที่พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 ให้คำจำกัดความไว้ เมื่อจำเลยยังไม่ได้จ่ายให้แก่โจทก์ จำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละ 15 ต่อปี ตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง ส่วนที่โจทก์ขอให้จำเลยเสียดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 30 มกราคม 2542 โดยอ้างว่าโจทก์ทำเรื่องขอเบิกเงินในวันดังกล่าวนั้น เห็นว่า ศาลแรงงานกลางมิได้ฟังข้อเท็จจริงดังที่อ้าง ทั้งโจทก์ฟ้องขอให้ชำระดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 30 มกราคม 2544 ซึ่งเป็นวันฟ้องเป็นต้นไปตามคำขอของโจทก์จึงชอบแล้ว อุทธรณ์ของโจทก์ข้อนี้ฟังขึ้นบางส่วน

พิพากษาแก้เป็นว่า เฉพาะในส่วนดอกเบี้ยของเงินค่านายหน้าในการยึดรถ ให้จำเลยชำระให้แก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง.

( พิทยา บุญชู - ดิเรก อิงคนินันท์ - พงษ์เทพ ศิริพงศ์ติกานนท์ )

ศาลแรงงานกลาง - นายสมบูรณ์ จิตรพัฒนากุล

มาตรา 5 ในพระราชบัญญัตินี้
"นายจ้าง" หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่าย ค่าจ้างให้ และหมายความรวมถึง
(1) ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนนายจ้าง
(2) ในกรณีที่นายจ้างเป็นนิติบุคคลให้หมายความรวมถึงผู้มีอำนาจ กระทำการแทนนิติบุคคลและผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้มีอำนาจกระทำ การแทนนิติบุคคลให้ทำการแทนด้วย
(3) ในกรณีที่ผู้ประกอบกิจการได้ว่าจ้างด้วยวิธีเหมาค่าแรง โดย มอบให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดรับช่วงไปควบคุมดูแลการทำงานและรับผิด ชอบจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างอีกทอดหนึ่งก็ดี มอบหมายให้บุคคลหนึ่ง บุคคลใดเป็นผู้จัดการหาลูกจ้างมาทำงานอันมิใช่การประกอบธุรกิจ จัดหางานก็ดี โดยการทำงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดใน กระบวนการผลิตหรือธุรกิจในความรับผิดชอบของผู้ประกอบกิจการให้ ถือว่าผู้ประกอบกิจการเป็นนายจ้างของลูกจ้างดังกล่าวด้วย
"ลูกจ้าง" หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงทำงานให้นายจ้างโดยรับค่าจ้าง ไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร
"ผู้ว่าจ้าง" หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงว่าจ้างบุคคลอีกบุคคลหนึ่งให้ ดำเนินงานทั้งหมดหรือแต่บางส่วนของงานใดเพื่อประโยชน์แก่ตน โดย จะจ่ายสินจ้างตอบแทนผลสำเร็จแห่งการงานที่ทำนั้น
"ผู้รับเหมาชั้นต้น" หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงรับจะดำเนินงานทั้งหมด หรือบางส่วนของงานใดจนสำเร็จประโยชน์ของผู้ว่าจ้าง
"ผู้รับเหมาช่วง" หมายความว่า ผู้ซึ่งทำสัญญากับผู้รับเหมาชั้นต้น โดยรับจะดำเนินงานทั้งหมดหรือแต่บางส่วนของงานใดในความรับผิดชอบ ของผู้รับเหมาชั้นต้นเพื่อประโยชน์แก่ผู้ว่าจ้าง และหมายความรวมถึงผู้ซึ่ง ทำสัญญากับผู้รับเหมาช่วงเพื่อรับช่วงงานในความรับผิดชอบของผู้รับเหมาช่วง ทั้งนี้ ไม่ว่าจะรับเหมาช่วงกันกี่ช่วงก็ตาม
"สัญญาจ้าง" หมายความว่า สัญญาไม่ว่าเป็นหนังสือหรือด้วยวาจา ระบุชัดเจน หรือเป็นที่เข้าใจโดยปริยายซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่าลูกจ้าง ตกลงจะทำงานให้แก่บุคคลอีกบุคคลหนึ่งเรียกว่านายจ้างและนายจ้าง ตกลงจะให้ค่าจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้
"วันทำงาน" หมายความว่า วันที่กำหนดให้ลูกจ้างทำงานตามปกติ
"วันหยุด" หมายความว่า วันที่กำหนดให้ลูกจ้างหยุดประจำ สัปดาห์หยุดตามประเพณี หรือหยุดพักผ่อนประจำปี
"วันลา " หมายความว่า วันที่ลูกจ้างลาป่วย ลาเพื่อทำหมัน ลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็น ลาเพื่อรับราชการทหาร ลาเพื่อการฝึกอบรม หรือพัฒนาความรู้ความสามารถ หรือลาเพื่อคลอดบุตร
"ค่าจ้าง" หมายความว่า เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่าย เป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำ งานปกติเป็นรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน หรือระยะ เวลาอื่น หรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำ งานปกติของวันทำงาน และให้หมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างให้แก่ ลูกจ้างในวันหยุดและวันลาที่ลูกจ้างมิได้ทำงาน แต่ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับ ตามพระราชบัญญัตินี้
"ค่าจ้างในวันทำงาน" หมายความว่า ค่าจ้างที่จ่ายสำหรับการทำ ทำงานเต็มเวลาการทำงานปกติ
"อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ" หมายความว่า อัตราค่าจ้างที่คณะกรรมการ ค่าจ้างกำหนดตามพระราชบัญญัตินี้
"อัตราค่าจ้างขั้นต่ำพื้นฐาน" หมายความว่า อัตราค่าจ้างที่คณะ กรรมการค่าจ้างกำหนดเพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการกำหนดอัตราค่าจ้าง ขั้นต่ำ
"การทำงานล่วงเวลา" หมายความว่า การทำงานนอกหรือเกิน เวลาทำงานปกติหรือเกินชั่วโมงทำงานในแต่ละวันที่นายจ้างตกลงกัน ตาม มาตรา 23 ในวันทำงานหรือวันหยุดแล้วแต่กรณี
"ค่าล่วงเวลา" หมายความว่า เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็น การตอบแทนการทำงานล่วงเวลาในวันทำงาน
"ค่าทำงานในวันหยุด" หมายความว่า เงินที่นายจ้างให้แก่ลูกจ้าง เป็นการตอบแทนการทำงานในวันหยุด
"ค่าล่วงเวลาในวันหยุด" หมายความว่า เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานล่วงเวลาในวันหยุด
"ค่าชดเชย" หมายความว่า เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อ เลิกจ้าง นอกเหนือจากเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง
"ค่าชดเชยพิเศษ" หมายความว่า เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้าง เมื่อสัญญาจ้างสิ้นสุดลงเพราะมีเหตุกรณีพิเศษที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้
"เงินสะสม" หมายความว่า เงินที่ลูกจ้างจ่ายเข้ากองทุนสงเคราะห์ ลูกจ้าง
"เงินสมทบ" หมายความว่า เงินที่นายจ้างสมทบให้แก่ลูกจ้างเพื่อ ส่งเข้าสมทบกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง
"พนักงานตรวจแรงงาน" หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ ปฎิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
"อธิบดี" หมายความว่า อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
"รัฐมนตรี" หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญัติ

มาตรา 9 ในกรณีที่นายจ้างไม่คืนเงินประกันตาม มาตรา 10 วรรค 2 หรือไม่จ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และ ค่าล่วงเวลาในวันหยุด ภายในเวลาที่กำหนดตาม มาตรา 70 หรือ ค่าชดเชยตาม มาตรา 118 ค่าชดเชยพิเศษตาม มาตรา 120 มาตรา 121 และ มาตรา 122 ให้นายจ้างเสียดอกเบี้ยให้แก่ลูกจ้างในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละสิบห้าต่อปี
--ในกรณีที่นายจ้างจงใจไม่คืนหรือไม่จ่ายเงินตามวรรคหนึ่งโดยปราศจากเหตุผลอันสมควรเมื่อพ้นกำหนดเวลาเจ็ดวันนับแต่วันที่ ถึงกำหนดคืนหรือจ่ายให้นายจ้างเสียเงินเพิ่มให้ลูกจ้างร้อยละสิบห้า ของเงินที่ค้างจ่ายทุกระยะเวลาเจ็ดวัน
---ในกรณีที่นายจ้างพร้อมที่จะคืนหรือจ่ายเงินตามวรรคหนึ่งและ วรรคสอง และได้นำเงินไปมอบไว้แก่อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย เพื่อจ่ายให้แก่ลูกจ้าง นายจ้างไม่ต้องเสียดอกเบี้ยหรือเงินเพิ่มตั้งแต่ วันที่นายจ้างนำเงินนั้นไปมอบไว้

ทนายความประชาชน
ชมรมปรึกษาคดีฟรี ทั่วประเทศฯ (ช ป.ท.)
hello! I am an admin of the People's Lawyer - Free Legal Consultation Club Nationwide (Chor.Por.T.A.) giving advice - like a relative - free of charge, call or add Line 089 214 2456
สวัสดี! ฉันเป็นแอดมินของทนายความประชาชน - ชมรมปรึกษาคดีฟรีทั่วประเทศฯ (ช.ป.ท.) ให้คำปรึกษา- ดุจญาติมิตร - ไม่คิดค่าใช้จ่าย โทร.หรือ แอดไลน์ 089 214 2456


X
STILL NOT SURE WHAT TO DO?
We are glad that you preferred to contact us. Please fill our short form and one of our friendly team members will contact you back.
Form is not available. Please visit our contact page.
X
CONTACT US