การชำระหนี้ที่ขาดอายุความ

การชำระหนี้ที่ขาดอายุความ

หนี้่ที่ขาดอายุความนั้น กฎหมายไม่ได้บัญญัติว่าหนี้นั้นระงับไป ดังนั้น การชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องซึ่งขาดอายุความแล้วนั้นไม่ว่ามากน้อยเพียงใดจะเรียกคืนไม่ได้ แม้ว่าผู้ชำระหนี้จะไม่รู้ว่าสิทธิเรียกร้องขาดอายุความแล้วก็ตาม บุคคลผู้ชำระหนี้ซึ่งขาดอายุความแล้วไม่มีสิทธิจะได้รับคืน

มาตรา 193/28 การชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องซึ่งขาดอายุความแล้วนั้นไม่ว่ามากน้อยเพียงใดจะเรียกคืนไม่ได้แม้ว่าผู้ชำระหนี้จะไม่รู้ว่าสิทธิเรียกร้องขาดอายุความแล้วก็ตาม

บทบัญญัติในวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับแก่การที่ลูกหนี้รับสภาพความ รับผิดโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือโดยการให้ประกันด้วยแต่จะอ้างความข้อนี้ขึ้นเป็นโทษแก่ผู้ค้ำประกันเดิมไม่ได้

มาตรา 408 บุคคลดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ไม่มีสิทธิจะได้รับคืนทรัพย์คือ
(1) บุคคลผู้ชำระหนี้อันมีเงื่อนเวลาบังคับเมื่อก่อนถึงกำหนดเวลานั้น
(2) บุคคลผู้ชำระหนี้ซึ่งขาดอายุความแล้ว
(3) บุคคลผู้ชำระหนี้ตามหน้าที่ศีลธรรมหรือตามควรแก่อัธยาศัยในสมาคม

กำหนดอายุความนั้นมีบัญญัติอยู่ทั่วไปในประมวลกฎหมายนแพ่งและพาณิขย์ และกฎหมายอื่น ๆ กำหนดอายุความจะมีระยะเวลามากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับบทบัญญัติของกฎหมายในเรื่องนั้น ๆ ซึ่งมีกำหนดแตกต่างกันไป เช่น ฟ้องให้รับผิดเพื่อการรอนสิทธิมีกำหนดอายุความสามเดือน ตามมาตรา 481

มาตรา 481 ถ้าผู้ขายไม่ได้เป็นคู่ความในคดีเดิม หรือถ้าผู้ซื้อได้ประนีประนอมยอมความกับบุคคลภายนอกหรือยอมตามที่บุคคลภายนอกเรียกร้องไซร้ ท่านห้ามมิให้ฟ้องคดีในข้อรับผิดเพื่อการรอนสิทธิเมื่อพ้นกำหนดสามเดือนนับแต่วันคำพิพากษาในคดีเดิมถึงที่สุดหรือนับแต่วันประนีประนอมยอมความ หรือวันที่ยอมตามบุคคลภายนอกเรียกร้องนั้น

ผู้ให้เช่าฟ้องผู้เช่าเกี่ยวแก่สัญญาเช่ามีกำหนดอายุความ 6 เดือน ตามมาตรา 563

มาตรา 563 คดีอันผู้ให้เช่าจะฟ้องผู้เช่าเกี่ยวแก่สัญญาเช่านั้นท่าน ห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนดหกเดือนนับแต่วันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่า

สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายในมูลละเมิดตามมาตรา 448 มีกำหนดอายุความหนึ่งปี

มาตรา 448 สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดนั้น ท่านว่าขาดอายุความเมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการ ละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือเมื่อพ้นสิบปีนับ แต่วันทำละเมิด

แต่ถ้าเรียกร้องค่าเสียหายในมูลอันเป็นความผิด มีโทษตามกฎหมายลักษณะอาญาและมีกำหนดอายุความทางอาญายาวกว่าที่กล่าวมา นั้นไซร้ ท่านให้เอาอายุความที่ยาวกว่านั้นมาบังคับ

สิทธิเรียกร้องใดถ้าไม่มีกฎหมายบัญญวัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น ก็มีกำนดอายุความ 10 ปี ตาม มาตรา 193/30

มาตรา 193/30 อายุความนั้น ถ้าประมวลกฎหมายนี้หรือ กฎหมายอื่นมิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะให้มีกำหนดสิบปี

บทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวกับกำหนดอายุความนั้นบางกรณีกฎหมายก็บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งว่าเป็นเรื่องกำหนดอายุความ แต่บทบัญญัติของกฎหมายบางมาตราก็ไม่แจ้งชัดว่าเป็นเรื่องกำหนดอายุความหรือไม่ จึงจำเป็นที่จะต้องศึกษาแนวคำวินิจฉัยของศาลฎีกา ตัวอย่างเช่น กรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 533

มาตรา 533 เมื่อผู้ให้ได้ให้อภัยแก่ผู้รับในเหตุประพฤติเนรคุณนั้นแล้วก็ดีหรือเมื่อเวลาได้ล่วงไปแล้วหกเดือนนับแต่เหตุเช่นนั้นได้ทราบถึงบุคคลผู้ชอบที่จะเรียกถอนคืนการให้ได้นั้นก็ดี ท่านว่าหาอาจจะ ถอนคืนการให้ได้ไม่

อนึ่ง ท่านห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นเวลาสิบปีภายหลังเหตุการณ์เช่นว่านั้น

ปัญหามีว่า กำหนดเวลาหกเดือน ตามมาตรา 533 วรรคหนึ่งดังกล่าวข้างต้นเป็นอายุความหรือไม่นั้น มีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1459/2526 (ประชุมใหญ่) วินิจฉัยว่า เป็นอายุความ เมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและมิใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยจะยกขึ้นเป็นข้อฎีกามิได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1459/2526

โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นสามีภรรยากัน จำเลยที่ 3 เป็นบุตรจำเลยที่ 1 ที่ 2 จำเลยที่ 4 เป็นพี่ชายจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 เป็นหลานโจทก์โจทก์อุปการะเลี้ยงดูมาตั้งแต่เล็ก โจทก์จดทะเบียนยกที่นาโฉนดเลขที่ 1623ให้แก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 โดยเสน่หา บัดนี้โจทก์ชราภาพและยากไร้ ไม่สามารถหาเลี้ยงชีพได้ จำเลยที่ 1 ที่ 2 ประพฤติเนรคุณต่อโจทก์และหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง เมื่อเดือนมิถุนายน 2521 จำเลยที่ 1 ที่ 2 จดทะเบียนโอนที่ดินดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 3 โดยเสน่หาและโดยไม่สุจริต และจำเลยที่ 3ได้จดทะเบียนโอนขายที่ดินโฉนดดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 4 โดยฉ้อฉลทำให้โจทก์เสียเปรียบ ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนยกให้ระหว่างจำเลยที่ 1 ที่ 2กับที่ 3 และเพิกถอนการจดทะเบียนการขายระหว่างจำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 4แล้วให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 จดทะเบียนโอนที่ดินดังกล่าวแก่โจทก์

จำเลยทั้งสี่ให้การว่า โจทก์จดทะเบียนยกที่ดินให้โดยมีค่าตอบแทนจำเลยที่ 1 ที่ 2 ไม่เคยประพฤติเนรคุณหรือหมิ่นประมาทโจทก์ จำเลยที่ 3ขายที่ดินให้แก่จำเลยที่ 4 ก็ด้วยภาวะยากจน และเนื่องจากจำเลยที่ 1 ที่ 2ได้ยืมเงินจากจำเลยที่ 4 เพื่อชำระหนี้แทนโจทก์และให้โจทก์เป็นการตอบแทนขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว พิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินตามฟ้องระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 และระหว่างจำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 4เฉพาะส่วนของจำเลยที่ 1 แล้วให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินที่กลับมาเป็นของจำเลยที่ 1 ให้โจทก์

โจทก์และจำเลยทั้งสี่อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินโฉนดที่ 1623 ระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 และหว่างจำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 4 ด้วยให้กลับคืนสู่ฐานะเดิม แล้วให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 โอนที่พิพาทกลับคืนแก่โจทก์

จำเลยทั้งสี่ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ยกที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 ที่ 2โดยเสน่หา จำเลยที่ 1 ได้หมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง จำเลยที่ 1 ที่ 2ไม่ยอมให้สิ่งของจำเป็นเลี้ยงชีวิตแก่โจทก์ในเวลาที่โจทก์ยากไร้และจำเลยยังสามารถจะให้ได้และวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์ทราบเหตุประพฤติเนรคุณแล้วมาฟ้องเป็นเวลาเกิน 6 เดือนนับตั้งแต่วันทราบเหตุคดีโจทก์ขาดอายุความนั้น ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่เห็นว่า กำหนดเวลาหกเดือนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 533 วรรคแรกเป็นอายุความ เมื่อความข้อนี้จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น และมิใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

พิพากษายืน

กรณีตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1529

มาตรา 1529 สิทธิฟ้องร้องโดยอาศัยเหตุใน มาตรา 1516 (1) (2) (3) หรือ (6) หรือ มาตรา 1523 ย่อมระงับไปเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วัน ผู้กล่าวอ้างรู้หรือควรรู้ความจริงซึ่งตนอาจยกขึ้น กล่าวอ้าง

เหตุอันจะยกขึ้นฟ้องหย่าไม่ได้แล้วนั้น อาจนำสืบสนับสนุนคดีฟ้องหย่าซึ่ง อาศัยเหตุ อย่างอื่น

ปัญหามีว่า บทบัญญัติดังกล่าวนี้เป็นอยุความหรือไม่ มีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1113/2514 วินิจฉัยว่า โจทก์รู้หรือควรรู้ว่าจำเลยล่วงเกินภริยาของโจทก์ในทำนองชู้สาวจนพ้นกำหนดสามเดือนแล้ว จึงฟ้องเรียกค่าทดแทนจากจำเลย คดีโจทก์ย่อมขาดอายุความตามมาตรา 1509 เดิม (ปัจจุบันคือมาตรา 1529) และคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 539/2511 วินิจฉัยว่า ฟ้องขอหย่าเมื่อพ้นกำหนดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1509 เดิม (หรือมาตรา 1529 ปัจจุบัน) แต่เมื่อจำเลยมิได้ยกเอาเหตุแห่งการระงับของสิทธิเรียกร้องขึ้นต่อสู้ศาลย่อมไม่วินิจฉัยถึงความระงับแห่งสิทธินั้น

ทนายความประชาชน
ชมรมปรึกษาคดีฟรี ทั่วประเทศฯ (ช ป.ท.)
hello! I am an admin of the People's Lawyer - Free Legal Consultation Club Nationwide (Chor.Por.T.A.) giving advice - like a relative - free of charge, call or add Line 089 214 2456
สวัสดี! ฉันเป็นแอดมินของทนายความประชาชน - ชมรมปรึกษาคดีฟรีทั่วประเทศฯ (ช.ป.ท.) ให้คำปรึกษา- ดุจญาติมิตร - ไม่คิดค่าใช้จ่าย โทร.หรือ แอดไลน์ 089 214 2456


X
STILL NOT SURE WHAT TO DO?
We are glad that you preferred to contact us. Please fill our short form and one of our friendly team members will contact you back.
Form is not available. Please visit our contact page.
X
CONTACT US